เกร็ดความรู้

สระเปลี่ยนรูป


วิธีใช้สระ 


สระเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการประสมอักษร ซึ่งมีวิธีการใช้แตกต่างกัน ดังนี้
1. สระคงรูป คือการเขียนสระตามรูปเดิมเมื่อประสมอักษร เช่น กะ เตะ โปะ เคาะ กอ กำ
หัว เป็นต้น สระ -ะ, เ-ะ, โ-ะ ในคำที่ยกมาไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อประสมอักษร
2. สระเปลี่ยนรูป คือ สระที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อประสมอักษร เช่น กับ ( ก + ” + บ) เจ็บ (จ + เ-ะ ” + บ)
 เกิน (ก + เ-อ” + น ) เป็นต้น
3. สระลดรูป คือ สระที่เขียนลดรูปเมื่อประสมอักษร เช่น ณ (ณ + ”)  งก (ง + โ-ะ ” + )

  การใช้สระ อะ อือ เอะ โอะ เอาะ ออ เออ อัว 

สระอะ (-ะ ) ใช้ได้หลายแบบ เขียนคงรูป เช่น กะ นะ เปลี่ยนรูป เช่น กัด จัน หรือ เปลี่ยนรูป
เป็น ร หัน เช่น วรรณ ขรรค์ และเขียนลดรูป เช่น ณ ธ ทนาย พนักงาน อนุชา
สระอือ ( - ื )เขียนคงรูป เช่น ปืน ยืม เมื่อไม่มีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูป โดยเพิ่ม  เช่น มือ ถือ ดื้อ
สระเอะ ( เ-ะ) เขียนคงรูป เช่น เตะ เฟะ เปะ เมื่อมีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูป เช่น เจ็บ เล็บ เห็บ เป็นต้น
สระโอะ (โ-ะ) เขียนคงรูป เช่น โปะ โต๊ะ เขียนลดรูป เมื่อมีตัวสะกด เช่น งก หก รก คม ลง
สระเอาะ (เ-าะ) เขียนคงรูป เช่น เคาะ เจาะ เหาะ เปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด เช่น ก็อก น็อค ม็อบ
สระออ (-อ) เขียนคงรูป เช่น กอ หอย ลอย ฝอย ลดรูป เมื่อสะกดด้วย  เช่น ถาวร วงจร ลูกศร วานร พร
สระเออ (เ-อ) เขียนคงรูป เช่น บำเรอ เธอ อำเภอ ลดรูปเมื่อสะกดด้วย  เช่น เนย เสย เตย เขยเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกดอื่น ๆ เช่น เกิน เหิน เริง เลิก เลิศ เนิบ
สระอัว ( - ัว) เขียนคงรูป เช่น หัว มัว รัว เขียนลดรูป เมื่อมีตัวสะกด เช่น ลวด กวน นวด บวก

ประโยคในภาษาไทย 

        

ประโยค
ประโยค หมายถึง ข้อความที่มีทั้งภาคประธาน และภาคแสดง  มีใจความสมบูรณ์ครบถ้วน รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
ประโยคแบ่งตามจำนวนเนื้อความได้ ๓ ชนิด คือ
๑.  ประโยคความเดียว (เอกัตถประโยค) คือประโยคที่มีใจความเดียว คือมีบทประธานบทเดียว และบทกริยาเพียงบทเดียว เช่น 

·         รถของคุณแม่เสียบ่อย ๆ
·         เจ้าแต้มสุนัขข้างบ้านจะกัดเจ้าวุ่นของฉัน
·         ฉันกำลังอ่านหนังสือสารคดีด้วยความสนใจ
·         น้อง ๆ ชั้นปีที่ ๑ เชื่อฟังพวกเราพี่ชั้นปี ๒ อย่างดี

ข้อสังเกต ประโยคความเดียว สันธานที่ใช้เชื่อมบทกรรมหรือวิเศษณ์เป็นการเชื่อมคำ

๒.   ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค) คือ ประโยคที่รวมประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม เช่น

·         เก่งทำงานบ้านและร้องเพลงเบา ๆ
·         อาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
·         หลานช่วยพยาบาลย่าจึงหายป่วยเร็ว
·         เธอจะทานผลไม้หรือขนมหวาน

ข้อสังเกต สันธานใช้เชื่อมประธานหรือกริยาเป็นการเชื่อมประโยค

๓.ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลัก      (มุขยประโยค) และประโยคย่อย (อนุประโยค) มารวมเป็นประโยคเดียวกัน โดยมี     ประพันธสรรพนาม (ผู้ที่ซึ่งอัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม 

   ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร

   ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประโยคความซ้อน
ประโยคหลัก(มุขยประโยค)
ประโยคย่อย(อนุประโยค)
ตัวเชื่อม
ฉันรักเพื่อนที่มีอารมณ์ขัน
ฉันรักเพื่อน
เพื่อนมีอารมณ์ขัน
ที่
(แทนคำว่าเพื่อน)
พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อลูกจะมีอนาคต
สดใส
พ่อแม่ทำงานหนัก
ลูกจะมีอนาคตสดใส
(ทำงานหนักเพื่ออะไร)
เพื่อ
ครูบอกให้นักเรียนแสดงความเคารพ
ครูบอก
นักเรียนแสดงความเคารพ
(ขยายกิริยา"บอก" บอกว่าอย่างไร)
ให้

12 comments:

  1. ประโยชน์แน่นมากๆๆได้ควารู้เยอะเลย

    ReplyDelete
  2. เนื้อหาน่าสนใจมากๆ ค่ะ มีประโยชน์มากค่ะ

    ReplyDelete
  3. เนื้อหาดีมากเลยค่ะ

    ReplyDelete
  4. เว็บนี้ น่าสนใจดีมากค่ะ

    ReplyDelete
  5. เนื้อหามีประโยชน์อย่างมากจ้า

    ReplyDelete
  6. อ่านแล้วได้ความรู้และเพลินมากๆ เลยค่ะ

    ReplyDelete
  7. ได้ประโยชน์มากมายค่ะ

    ReplyDelete
  8. อ่านแล้วเหมาะแก่การเผยแพร่มาก เนื้อหาดี

    ReplyDelete
  9. เนื้อหาดีมีความน่าสนใจมากคะ

    ReplyDelete
  10. เนื้อหาดีมากค่ะ ^^

    ReplyDelete
  11. เนื้อหาน่าสนใจมากคะ

    ReplyDelete
  12. เนื้อหามีสาระ น่าสนใจค่ะ

    ReplyDelete